WELCOME TO www.9artgallery.com                                                                                ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ www.9artgallery.com





9Art Gallery/ Architect Studio : 786/11 Moo.3 Phaholyotin Rd,Wiang,Muang,Chiangrai 57000 : Tel.0-5371-9110 Fax:0-5374-4168,E-mail : artgallery9@hotmail.com



     


My Generation

The Exhibition of Painting

“ชั่วโคตรข้าพเจ้า”
“My Generation” 

by สมพงษ์  สารทรัพย์ / Sompong Sarasap

 

 

 

 

 

 

 

2504 - เกิดที่จังหวัดเชียงราย
2513 - จบชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแม่ลาว, เชียงราย
2517 - จบชั้นประถมปีที่ 7 โรงเรียนบ้านสันโค้งฯ,เชียงราย
2520 - จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม, เชียงราย
2522 - จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร, กรุงเทพฯ
2526 - แสดงผลงานศิลปะครั้งแรกในนิทรรศการศิลปกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5
2527 - จบปริญญาตรี(ศิลปะ) มศว.ประสานมิตร, กรุงเทพฯ
     - กลับบ้านจังหวัดเชียงราย, ทำงานศิลปะอิสระ
     - แสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ, จิตรกรรมบัวหลวง และอื่นๆ
      ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันร่วม 100 ครั้ง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
2531 - แสดงผลงานเดี่ยวครั้งแรก ที่สถาบันเกอเธ่กรุงเทพฯ
2532 - ได้รับเหรียญทองแดง จิตรกรรมบัวหลวง
2533 - ได้รับเหรียญเงิน จิตรกรรมบัวหลวง
2534 - ได้รับรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ประเภทจิตรกรรม
2535 - แสดงผลงานเดี่ยวที่ ดิอาร์ติส แกลเลอรี่, กรุงเทพฯ
2536 - แสดงงานศิลปกรรม 9 สล่าเชียงราย “เพื่อทำทุนสร้างหอศิลป์เชียงราย,
      สถาบันราชภัฎ เชียงราย

2539 - ได้รับมอบหมาย เขียนจิตรกรรมโพธิ์เงิน, โพธิ์ทอง ติดตั้งถาวรที่
      ซุ้มพระหยก วัดพระแก้ว จ.เชียงราย
2543 - แสดงผลงานเดี่ยวครั้งที่ 5 ที่หอศิลป์แห่งชาติ, กรุงเทพฯ
     - ได้รับเชิญจากมูลนิธิศิลปะไทย ไปแสดงผลงานเดี่ยวจิตรกรรม
      ที่อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์
2544 - เปิด 9 Art Gallery ที่จังหวัดเชียงราย
     - ได้รับเชิญไปแสดงผลงานเดี่ยวจิตรกรรมที่ ซีแอตเติ้ล, สหรัฐอเมริกา
2547 - เป็นแกนนำกลุ่มศิลปินเชียงรายผลักดันโครงการหอศิลป์
      ร่วมสมัยเชียงราย จัดแสดงผลงาน ศิลปกรรมกลุ่มศิลปินเชียงราย
      กับศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย ที่เชียงราย และ หอศิลป์ แห่งชาติ กรุงเทพฯ
2548 - ศึกษาดูงานศิลปะและหอศิลป์ที่มีชื่อเสียง 11 แห่งของฝรั่งเศส
      และ 2 แห่งในเนเธอร์แลนด์ โดยการสนับสนุนของสถานฑูต
      และสมาคมฝรั่งเศสร่วมกับกลุ่มศิลปินเชียงราย
2551 - ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรม สร้างสรรค์ศิลปกรรมพระประวัติ
      และพระราช กรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
      เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2554 - แสดงผลงานเดี่ยวครั้งที่ 14 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ

1961 Born in Chiangrai province, Thailand
1970 Graduated early primary school, Baan Maelao school, Chiangrai
1974 Graduated primary school, Baan Sankhong school, Chiangrai
1977 Graduated early secondary school, Samakkhi Wittayakhom school, Chiangrai
1978 Graduated high school, Amnuaysilp school, Bangkok
1983 Held the first art exhibition with the fifth art exhibition of Thailand
1984 Graduated B.A.(Fine Art) Srinakarinwirot University, Bangkok
Return to Chiangrai, work as freelance artist Was selected in 30th National Exhibition of art,
8th Bualung Exhibition of Painting, etc. until now exhibit approximate 100 times both
in Thailand and abroad
1988 Held the first solo exhibition at Goethe-Institut, Bangkok
1989 Won the third prize, Bualung Exhibition of Painting
1990 Won the second prize, Bualung Exhibition of Painting
1991 Received award winner in painting, National Exhibition of Art
1992 Solo exhibition at The Artist Gallery, Bangkok
1993 Held “9 Chiangrai Artists” exhibition for the fund of Chiangrai Art Museum,
Rachapat Chiangrai University
1996 Was selected to paint “Gold Pipal” and “Silver Pipal” permanent exhibition at Prayok Hall,
Wat Prakaew, Chiangrai
2000 5th solo exhibition at National Museum, Bangkok Was invited from Thai Art Foundation
to solo exhibition at Amsterdam, Netherland
2001 Established 9 Art Gallery, Chiangrai 7th solo exhibition at 9 Art Gallery Was invited to solo
exhibition at Red and Gold Art Gallery, Seattle, USA
2004 Was the leader of Chiangrai artists group push Chiangrai Contemporary Art Museum
project, exhibit art at Chiangrai and National Museum, Bangkok
2005 Observation of Art and 11 famous museums in France, 2 museums in Netherland,
supported by the embassy of France and Alliance Francaise
2008 Was selected from The former Ministry of Culture for create art of the Princess
Kalayaniwatana's history and duties at Prameru Ground in Bangkok
2011 14th solo exhibition at National Museum, Bangkok

 

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป / At The National Gallery, Bangkok

โดย คุณชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว
             
ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ

To be presided over by

Khun Chuchawal Pringpuangkeo

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชั่วโคตรข้าพเจ้า
นิทรรศการจิตรกรรมของ สมพงษ์  สารทรัพย์

           สมพงษ์  สารทรัพย์  เป็นจิตรกรอิสระชาวชียงราย  สมพงษ์ชอบสร้างสรรค์
ศิลปกรรมกับแนวความคิดของมนุษย์กับสังคม, สิ่งแวดล้อม ขณะที่ศึกษาอยู่ในเมืองหลวง 
สมพงษ์แสดงภาวะตัวตนของมนุษย์ต่อวัตถุสิ่งแวดล้อมกับค่านิยมของสังคมเมืองที่รีบเร่ง 
แข่งขัน หลังจากจบการศึกษาที่ มศว.ประสานมิตร ปี 2527 สมพงษ์ได้เดินทางกลับบ้าน 
ที่บ้านจังหวัดเชียงราย ในระยะแรก  สมพงษ์สร้างสรรค์ผลงานแสดงตัวตนของคนกับวิถี
ชีวิตในธรรมชาติความรักและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นแผ่นดินผลงานชุดนี้ได้รับการยอมรับ
ทำให้เขามีชื่อเสียงได้รับรางวัลการประกวดจิตรกรรมบัวหลวงสองปีซ้อน ในพ.ศ. 2532, 2533
และได้รับรางวัลจากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติในปีถัดไป ในพ.ศ. 2534 หลังจากนั้นเขาก็ได้เลิกส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่างๆมุ่งมั่นสร้างสรรค์ ค้นหาตัวตนกับ
ผลงานศิลปะต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ที่เชียงรายสมพงษ์ได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาหลายชุด
จัดแสดงผลงานนิทรรศการเดี่ยวหลายครั้ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นิทรรศการจิตรกรรม 
“ชั่วโคตรข้าพเจ้า” เป็นนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่2ของเขาที่จัดแสดงกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาต
ิหอศิลปที่นี้เมื่อ11ปีก่อน เขาได้นำเสนอผลงานจิตรกรรมชุดเมล็ดข้าวกับแนวคิดหลังการล่มสลาย
ของสถาบันการเงิน,การธนาคารของชาติ ที่ผู้คนตกงาน ยากจน สมพงษ์ถามหาความเป็นไทย 
คนไทยยามยากจนเมล็ดข้าวมีค่าดั่งทองคำผู้คนที่ตระหนักรู้ถึงความเป็นไทย ย่อมมีค่ากว่า
ทรัพย์สินสิ่งอื่นใด
                ในนิทรรศการจิตรกรรมที่จะจัดขึ้นในครั้งนี้  สมพงษ์ยังคงใช้เมล็ดข้าวเล่าเรื่องราว
ของตัวตน ส่งผ่านการเปลี่ยนแปลงของสังคม,  สิ่งแวดล้อม สมพงษ์มีความรักความผูกพัน
กับเชียงรายบ้านเกิดอย่างลึกซึ้ง เขาเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของชุมชนชนบทด้วยความห่วงใย
เขาถามตอบเรื่องราวการเป็นไปต่อสิ่งนั้นผ่านเส้นสีในผลงานศิลปะ จากประสบการณ์ตรงที่
ผ่านพบชีวิตวัยเด็กอันสนุกสนานกับพื้นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ แม่น้ำ 
ขุนเขา ผ่านเวลาเติบใหญ่ได้เรียนรู้โลกกว้างกับเมืองใหญ่ในที่ต่างๆของโลกที่ได้เดินทางไป
กับการแสดงผลงานศิลปะ เขาได้เห็นการเปลี่ยนแปลงคืบคลานรุกรานเข้ามาของวัตถุกับ
ค่านิยมความทันสมัย ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย วิถีชีวิตผู้คนวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลง 
สมพงษ์แบ่งช่วงเวลาของมนุษย์เป็น 3 ช่วงวัย ในหนึ่งชั่วโคตรข้าพเจ้าคือ ๑. เขาได้เป็นเด็ก 
ได้เกิดมาเป็นคนของครอบครัว, ชุมชน  ๒. เขาได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้เรียนรู้ ได้สร้างสรรค์
ผลงานมีสังคม, มีตัวตน  และ ๓. เขาจะได้แก่ชรา  มีวุฒิภาวะแยกแยะสิ่งอันควรและไม่สมควร 
บอกเล่าการเป็นไปให้กับใครๆ ศิลปกรรมที่นำเสนอชุดนี้จึงคล้ายกับการบอกเล่า แบ่งภาพ
เรื่องราวจากเด็กในอดีตสู่ปัจจุบัน จากความทรงจำจากความประทับใจเล่าเรื่องแทนตัวตน, 
คนไทย เป็นเมล็ดข้าว, ยุ้งฉาง,ท้องทุ่งนา  ที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวผ่านสถานการณ์ เพื่อ
ให้ตัวตนได้มีสติ มีสำนึกรู้ถึงความเป็นไทย ได้ก้าวข้ามพ้นอุปสรรคในยุคสมัย
รักษาส่งต่อจิตวิญญาณ สืบให้ลูกหลานต่อไป  พบกับจิตรกรรมชุดนี้ของสมพงษ์  สารทรัพย์ 
ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ ได้ตั้งแต่วันที่ ๘ ถึง ๓๑  พฤษภาคม  ๒๕๕๔
เวลา  ๙.00 – ๑๖.๐๐ น.เว้นวันจันทร์ และอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

 

 

 

ชั่วโคตรข้าพเจ

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ 

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑  เศรษฐกิจฝืดเคือง  ผู้คนยากจน  ยายอพยพจากครอบครัวใหญ่จากลำพูนมาเชียงราย  ตามคำบอกเล่าถึงเชียงราย  ในความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร, ทรัพยากร  ยายเป็นลูกเจ้าน้อยบุญทา  ณ ลำพูน  กับแม่นางหน่อมคำ  ตาก็มาจากคุ้มหลวงลำพูน  ในครอบครัวคนเลี้ยงช้าง  แม่เกิดที่เชียงใหม่เป็นลูกสาวคนที่ ๒ ของพี่น้องสาว ๔ คน  ปู่เป็นลูกพ่อค้าชาวไทยโคราช, นครราชสีมา  ครอบครัวปู่มีกิจการคาราวานเดินทางค้าขายไปทั่ว  กรุงเทพฯ  อีสาน, เหนือ  ย่าเป็นจีนแซ่คู  อพยพหนีภัยตามครอบครัวจากเมืองจีนมาอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง  ที่เวียงจันทร์ประเทศลาว  ละอำเภอท่าบ่อ  จังหวัดหนองคาย, ประเทศไทย  ปู่ได้พบกับย่าที่ท่าบ่อเกิดพ่อเป็นลูกคนที่ ๒ ในพี่น้องชายหญิงทั้งหมด ๙ คน  หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  ปู่พาครอบครัวขึ้นเหนือค้าขายถึงเชียงตุง (พม่า)  แล้วกลับมาลงหลักที่พะเยาและเชียงราย  วัยหนุ่มพ่อได้เข้าทำงานบุกเบิกโครงการชลประทานที่แม่ลาว  พ่อได้พบกับแม่ที่นี่, เช้ามืดคืนวันจันทร์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔  ที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊ค, เชียงราย  ผมได้เกิดมาเป็นลูกคนที่ ๒ ของครอบครัว  ในพี่น้องหญิงชาย, หญิงชาย ๔ คน  ทุกคนผ่านชีวิตวัยเด็ก  เติบโตขึ้นมาที่แม่ลาว

แม่ลาว  แม่ลาวในอดีตเป็นชุมทางการค้าขาย  มีตลาดใหญ่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า  แม่ผมค้าขายใบยาสูบ  ร่วมกับป้าที่ขายเมี่ยง (ใบชาหมัก)  ปลีกและส่งระหว่ารงเชียงราย,
พาน,แม่สรวย ผมเข้าโรงเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนบ้านแม่ลาว ในความรู้สึกขณ ะนั้น
ใหญ่มาก  เพื่อนๆร่วมหมู่บ้านต้องเดินเท้ามาไกลหลายกิโลเมตรเข้าเรียนในรัศมี ๕ กิโลเมตรรอบๆโรงเรียนจึงมีแต่บ้านเพื่อน  บ้านเพื่อนเต็มไปหมด  วันหยุดหรือว่าง 
ผมมักจะแอบหนีเที่ยว  เดิน  วิ่ง  ลัดคันนา  ลำคลอง  ท้องทุ่งไปหาเพื่อนๆ 
รวมกลุ่มกันยิงนก ตกปลา  หาของป่า  ชีวิตวัยเด็กของผมเรียบง่ายซุกซนตามประสา  หากแต่เชียงรายขณะนั้นห่างไกลจากกรุงเทพฯเหลือเกิน  บ้านเรือนผู้คนในชุมชนยากจนรู้จักใกล้ชิดพึ่งพากันจากหมู่บ้านถึงหมู่บ้าน  บรรยากาศนิ่งๆ 
สงบเงียบ  ไม่มีไฟฟ้า  ไม่มีระบบสาธารณูปโภค  นานๆทีจะมีรถยนต์วิ่งผ่านไปมาสักคัน  ผสานเสียงเพลงจากวิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องเล็กที่บอกข่าวเล่าละคร  เป็นปกติของทุกวัน, 
ทุกวัน  ทุกๆวัน  เด็กๆจะรอให้มีรถขายยา  นำหนังเข้ามาฉายสักครั้ง  รอที่จะให้ถึงวันหยุด
มีเทศกาล  มีงานฤดูหนาวประจำปีอีกสักครั้ง  จนผมใกล้จบชั้นประถม ๔  ไฟฟ้าก็เข้ามา 
ถนนก็ตัดผ่าน  ผ่านพร้อมรถยนต์โดยสาร บ.ข.ส. สีส้มคันใหญ่วิ่งเร็วผ่านไปมาทุกเช้า, เย็น  จากนั้นผมก็เดินทางเข้าไปเรียนหนังสือต่อในตัวเมืองที่โรงเรียนบ้านสันโค้งและ
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม  จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ แล้วเดินทางตามพี่ๆ  ลูกป้า 
ลูกน้า  เข้ามาเรียนหนังสือต่อที่กรุงเทพฯ

My Generation

After the 1st World War

After the 1st World War, times were very tough and there were many poor

people.  My maternal grandmother and her big family moved from Lampoon to

Chiangrai Province.  They heard that Chiangrai had rice, fish, food, and

abundant  resources.  My maternal grandmother was the daughter of the

Prince Jao Noi  Boonta of Lampoon, and Mrs. Nomkham.  My maternal

grandfather also came  from Lampoon palace, from the family of a mahoot.

My mother was born in  Chiangmai.  She was the second of four daughters.

My grandfather is the son of  a Thai-Korad merchant from Nakornrachaseema

province. His family had a  caravan that traveled many places including

Bangkok, North-East Thailand, and  North of Thailand. My paternal

grandmother is Chinese and her surname is

Koo.  Her family moved from China to the Mae Khong River (both sides) at

Wiang-Jan, Lao and Amphur Thabo, Nong-Kai Province, Thailand.  My

paternal grandfather and grandmother met at Tha-Bo.  My father is the 2nd

of 9  brothers and sisters.  After the 2nd World War, my  grandfather took his

family to the North for his trade to Chiang-Tung, Myanmar,  and then back to

live at Payao and Chiangrai. As a young man, my father’s work was

developing the irrigation system at Maelao.  This is where he met my mother.  I

was born at  Overbrook Hospital in Chiangrai one early Monday morning on

19 June, 1961. I am the 2nd in a family of 4 brothers and sisters. We grew up

in Maelao.

 

 

Maelao

Maelao in the past, was a railroad junction and a big market for merchants, and for

exchanging commodities.  My mother traded tobacco cigarettes, and my aunt traded

“Miang.”  These local fermented tea leaves were sold retail and wholesale between

Chiangrai, Phan, and Maesuay.

I started primary school at Ban-Maelao school.  In that time, my feeling was so great

about living in the beautiful countryside. My villager friends walked up to 5 kilometers

to the school. A lot of my friends’ houses were around the school.  On weekends and

holidays, I would travel around, walking and running across the ridge, rice-fields, and

river to meet my friends.  We would shoot birds, catch fish, and find things in the

forest. My childhood was simple. At that time, Chiangrai was very isolated from

Bangkok, and the people in the poor villages were very cut-off from the big city.  Life

was quiet and peaceful with no electricity, no public utilities, and few cars passing by.

Transistor radios gave us news and soap operas. Every day was like the day before.

Every day the children would wait for the bus to bring medical supplies and movies.

We all looked forward to holidays like the annual winter festival.

By the time I graduated from Pratom 4, the town had electricity, a major road, and a

big orange public bus that passed by every morning and every evening. After that, I

journeyed to study in Chiangrai at Baansankong School, Samakkiwitayakom School,

and graduated Mattayom 3. After that, I followed my sister and cousin to Bangkok.

 

 

 

 

 

 

 

 

กรุงเทพฯ 

    กรุงเทพฯเมืองหลวงของประเทศไทย  ในขณะนั้นยังห่างไกลจากเชียงรายมาก  เหมือนหลับ, ตื่น  ข้ามภพกับการเดินทางยามค่ำคืนบนรถยนต์ ๑๒ ชั่วโมง  หลับลืมตาตื่นมาอีกทีก็พลิกภาพธรรมชาติอันสงบเงียบเป็นอึกทึก  เปลี่ยนภาพสีเขียว,  ครามของท้องทุ่งนา  ป่าเขา  เป็นตึกราม,  รถยนต์,  ผู้คน  บนถนน  บนรถเมล์พลุกพล่าน  ผู้คนเดินข้ามกันไปมาขวักไขว่  ผมเริ่มหัดเขียนรูปด้วยตัวเองในช่วงเวลา  ขณะนี้ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์  พระนคร  จากความเหงา  จากการดูอ่าน  และทดลองทำเอาเองตามที่เข้าใจ  ครูคนแรกที่ให้ความรู้เรื่องเทคนิค,  วิธีการ,  อุปกรณ์ คือพนักงานขายร้านเครื่องเขียน  ภาพสีน้ำมันแรกๆเของบึงบัว,  ดอกบัว  และร้านน้ำ,  หม้อน้ำ  จึงออกไปในแนวศิลปะพื้นบ้าน  ไม่มีกรอบ  ไม่มีรูปแบบ  ทำไปตามความคิดคำนึง  ตามความรู้สึกถึงสิ่งคุ้นเคยเมื่อยามเด็ก  จนได้เข้าเรียนที่ภาควิชาศิลปะ  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร  ผมจึงได้เรียนรู้ศิลปกรรมตามหลักวิชาการ  ภาพผลงานศิลปะที่ประสานมิตรช่วงแรกๆ  ยังคงเป็นเรื่องราวเก่าๆจากเดิมที่เริ่มหัดเขียน  ภาพบุคคลของพ่อ,  แม่,  ยาย  และตัวเอง  เมื่อยามเด็กมีกระพรวนข้อเท้า  ถูกขัดเกลาสัดส่วน  มีการจัดองค์ประกอบ  และคำนึงถึงเรื่องราว,  ความคิด,  ความรู้สึก  ที่พยายามถ่ายทอดบรรยากาศสีน้ำเงิน  แทนความคิดถึง  อาลัยต่ออดีต  บ้านเรือนและผู้คนที่ได้จากมา



พอขึ้นปี ๒๕๒๖  ผมก็ได้ละทิ้งการเขียนภาพสีน้ำมันหันมาสนใจการทำงานวาดเส้นที่แสดงตัวตน  จากอิทธิพลของความคิดในศิลปะแนวเพื่อชีวิต  จากกระแสการเมืองโลกที่ขัดแย้ง  แบ่งแยกสังคมออกเป็นซ้าย, ขวา  ตามลัทธิรูปแบบการปกครองสังคมนิยมกับทุนนิยม  จากเหตุการณ์เมืองไทยในวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖  กับ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ที่แผ่ขยายครอบคลุม,  แทรกซึม  เป็นปฏิปักษ์กับรัฐ  เป็นสงครามเย็น  ซ่อนซ้าย  ซ่อนขวา  เป็นซ้าย  เป็นขวา  เป็นอยู่ขัดแย้งกันในสังคม  และสถาบันการศึกษา  ปัญญาชน  และพลเมือง  บ้างผู้คนเคลื่อนไหว  อาศัยอยู่ในป่า  บ้างผู้คนซ่อนปนอยู่ในเมือง  ไม่มีอะไรชี้ให้เรารู้ได้ว่าอะไรจริง  หรือหลอกลวง  น่าเชื่อถือหรือเป็นเพียงแค่ภาพลวงตา  สิทธิในการรู้เห็น,  แสดงออก  ถูกเก็บงำ  เป้นความเงียบที่น่ากลัว  มีความผิด  หลายสิ่งถูกห้ามไม่ให้อ่าน ไม่ให้ฟัง  ไม่ให้ดู  ไม่เว้นกับชุมชนชนบทบ้านแม่ลาว  และพื้นที่โดยรอบ  บ้านเพื่อนๆบางส่วนแปรเปลี่ยนเป็นเขตสีชมพู  ไม่ปลอดภัย  ยุคสมัยที่ผลงานศิลปกรรมถูกตั้งคำถามถึงคุณค่า  เช่นกันกับคุณค่าของการเป็นอยู่ของมนุษย์  การเป็นคนไทย  และความเป็นไทย  ผมคิดถึงตัวเอง  ผมคิดถึงความเป็นตัวของตัวเอง  และอิสรภาพที่พ้นจาการถูกครอบงำ  ภาพพวงมาลัยที่เห็นเหี่ยวแห้ง  แขวนอยู่ทุกมุมสี่แยกข้างถนนในเมือง  สะเทือนใจ  เหมือนความหอมสดของชิวิตไทยๆถูกช่วงชิงไปกับความรีบเร่ง  ขัดแย้ง  ไม่น่าไว้วางใจ  แม้แต่เพื่อนในมหาวิทยาลัย  หรือใครๆ  ผู้คนดูฉาบฉวย  แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน  ภาพเข็มกลัด กลัดกระดาษสีแดง,  สีเหลือง,  ถูก ผิด  เลอะเทอะทับซ้อน  เป็นภาพภายในจองการถูกจองจำตีตราทั้งจากคติ,  อติของตัวเองและสังคม  ผมอึดอัดใจในความซับซ้อนของสังคมเมือง  และอาลัยในความเรียบง่ายของอดีต  ความขัดแย้ง  แตกต่าง  สร้างความสับสน  ฝังใจจนรู้สึกถึงความเศร้า  รอเวลา  รอให้ได้เรียนจบจะได้กลับบ้าน

 

                                                                                                                                        

 

 

 

 

Bangkok

Bangkok, the capital of Thailand, at that time was a long journey from Chiangrai.  I would sleep for the 12 hour night journey. When I closed my eyes to sleep from the peaceful nature view of green  and indigo rice fields and forests, I opened them to buildings, cars, crowded buses, and many people walking back and forth.I attended Amnuaysilp Pranakorn school, and I started to paint from my feelings of loneliness,
isolation, and unhappiness at the city life. There I had my first teacher who taught me technique, and I had access to art supplies and equipment.  First I created a series of oil paintings of lotus ponds, lotus flowers, and local water huts.  These were very naïve and basic. I just worked from my thoughts and memories of my childhood.I passed the entrance exam and attended Srinakarintarawiroj Prasarnmitara University, and there I
studied the theoretical basis of creating art work.  The earliest paintings I did there  were still narrating the same story of my life from the beginning:  my father, mother, grandmother, and myself  with small bells on my wrists (so my parents could find me).  These were the primary elements and themes of my work. I was thinking, feeling, and trying to express the blue atmosphere of missing my hometown and my people.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลับบ้าน 

ปี ๒๕๒๗ หลังสำเร็จการศึกษาได้ไม่นาน  ผมตัดสินใจกลับบ้าน  ผมเดินทางท่องเที่ยวตามหาอดีต  พบเพื่อนๆ  ข้ามห้วย  ข้ามดอย  เข้าป่าเขา 
ใช้ชีวิตอิสระ  อยากไปไหน  ไป  อยากจะทำอะไร  ทำ  เวลาในแต่ละวันเหมือนการเก็บเกี่ยวสิ่งที่สูญเสียไปกับการที่ต้องจากไปกับการศึกษา
เล่าเรียน  ผมได้เห็นภาพตัวเอง,  สิ่งแวดล้อม,  สังคม  และผู้คนเปลี่ยนไป  หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลง  และกำลังจะเปลี่ยนแปลง  เปลี่ยนไปตามเส้นทางของถนนและเสาไฟฟ้า  สุดปลายทางของถนนผมได้เห็นชิวิตอิสระของผู้คนบนดอย  ผู้พอมี  พออยู่พอกิน 
ไม่ร่ำรวย  ไม่ยากจน  ไม่กระตือรือร้น  ไม่รีบเร่ง  ผู้คนมีความสุขกับวิถีชีวิตในธรรมชาติ  เรียบง่าย  ผมได้เห็นพระจันทร์ที่สวยที่สุดที่นี่  สถานที่มีกระท่อมอันอบอุ่น 
ผู้คนมากล้นน้ำใจ  เด็กๆบริสุทธิ์  ตื่นตัวพร้อมเรียนรู้สรรพสิ่ง  สถานที่อันเป็นทิพย์  พ้นจากการแก่งแย่งแข่งขัน  ไร้พันธนาการ  สถานที่ให้คำตอบต่อความหมายแห่งชีวิต 
ตัวตน,  ผู้คน  และสังคม  สลายความคับค้าง  ขมขื่นใจ  จนรู้สึกได้ถึงความสงบ  ชีวิตเหมือนถูกปลดปล่อย  ล่องลอย  ปีติ  ผมเริ่มร่างภาพ  เขียนภาพชุดกระท่อม, 
เมล็ดพันธุ์,  แม่,  ต้นไม้บนแผ่นดิน  ในลักษณะอิสระของภาพไทยที่มีเส้นสีใน
ระนาบแบนราบ  เล่าเรื่องราวเรียบง่ายของความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตและธรรมชาติ  ด้วยสีน้ำบนผ้าใบแล้วเคลือบทับด้วยวานิชเคลือบสีน้ำมัน  ผลงานชุดนี้ได้รับรางวัลจากการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง  ของธราคารกรุงเทพฯ
สองปีซ้อน  และได้รับรางวัลจากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติในปีถัดไป

               ปี ๒๕๓๑  ผมรวบรวมผลงานชุดเข็มกลัด-พวงมาลัย  แสดงงานเดี่ยวครั้งแรกที่สถาบันเกอเธ่, กรุงเทพฯ

                ปี ๒๕๓๕  ผมรวบรวมผลงานชุดแม่,  เมล็ดพันธ์,  ต้นไม้  แสดงงานเดี่ยวครั้งที่สองที่ ดิ อาร์ทติส แกลเลอรี่, กรุงเทพฯ

                ปี ๒๕๔๓  ผมแสดงงานเดี่ยวครั้งที่ ๕  ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  หอศิลป์  กรุงเทพฯ  เป็นการแสดงที่สำคัญครั้งหนี่ง  กับผลงานชุดเมล็ดข้าว  จากการล่มสลายของสถาบันการเงิน  การธนาคารของประเทศไทย  บริษัทร้านค้าล้มละลาย  ผู้คนตกงาน,  ยากจน  ผมคิดถึงความเป็นไทย  คิดถึงเมล็ดข้าวที่เรากินทุกเช้า-เย็น  คนไทยไม่ว่าจะไปอยู่ใน ณ ที่แห่งใดในโลก  ยังคงกินข้าว  อยากปลูกข้าว  พื้นที่ทุ่งนามีน้ำ  มีคนไทย  ย่อมมีข้าว  ในยามยากจน “เมล็ดข้าวมีค่าดั่งทองคำ” คนไทยที่ตระหนักรู้ถึงความเป็นไทย  ย่อมมีคุณค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินสิ่งอื่นใด  ผลจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมครั้งนี้  ทำให้ผมได้รับเชิญไปแสดงผลงานเดี่ยวครั้งแรกในต่างประเทศ  โดยการจัดของมูลนิธิศิลปะไทย  ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม  ประเทศเนเธอร์แลนด์  และอีกครั้งในปีถัดไปที่แกลเลอรี่ Red and Gold เมืองซีแอตเติล  ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยการจัดการของคุณ  Richard Painter เจ้าของแกลเลอรี่  ผู้ออกทุนค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด  ตลอดการเดินทาง,  ขนส่งผลงาน  และที่พัก

จากประสบการณ์ที่ได้รู้เห็นโลกศิลปะในมุมกว้างจากหอศิลป์และแกลเลอรี่ที่มีชื่อเสียงของโลก  ทำให้ผมรู้จักตัวเองดีขึ้น  ได้เห็นตัวเองกับภาพผู้คนและวัฒนธรรมไทยเป็นอยู่ในตัวผม  ได้เห็นตัวเองแปลกแยกอิสระจากผู้คนในที่ต่างๆของโลก  วัฒนธรรมที่เป็นอยู่กับตัวตน  และผลงานศิลปะที่มีกลิ่นอายของความเป็นไทย  สำคัญยิ่งกับการเป็น  และมีอยู่ของตัวตน  รวมถึงการสร้างสรรค์  ความซาบซึ้งใจ  และความภาคภูมิใจในความเป็นไทยถูกปลุกตื่น  เปิดเผย  เกิดความรัก  และหวงแหนในสิ่งต่างๆ  ภาพวัดวาอาราม  และพระบรมมหาราชวังเปรียบดั่งแดนสวรรค์  น่าอัศจรรย์  ไม่มีที่แห่งไหนในโลกอีกแล้วที่จะทำให้รู้ถึงความอบอุ่น  เป็นกันเอง 
และพิเศษสุดในคุณค่าแห่งศิลปกรรม

              ปี ๒๕๔๔  ผมนำความรู้จากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นศิลปกรรมในที่ต่างๆ  ในต่างแดน  เปิดแกลเลอรี่นายอาร์ตขึ้นที่เชียงราย  โดยตั้งใจให้เป็นพื้นที่เปิด  เป็นหน้าต่างแลกเปลี่ยนศิลปกรรมของชุมชนกับภูมิภาคต่างๆ  ทั้งส่วนกลาง  กรุงเทพฯ  และนานาชาติ  เปิดโอกาสให้ศิลปินท้องถิ่นเชื่อมต่อความคิดของตน  ส่งต่อคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง  เพื่อศึกษาเรียนรู้ตัวเองในรากเหง้าวัฒนธรรมกับศิลปกรรมแตกต่าง  ที่ไหลบ่าเข้ามาต่อเนื่องตามกระแสวัฒนธรรมโลก,  โลกาภิวัตน์  โดยจัดกิจกรรม  จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมของศิลปินท้องถิ่น,  ศิลปินไทย,  และศิลปินชาวต่างชาติ  หมุนเวียน  ต่อเนื่องทุกปี  ประมาณ 10 ครั้งต่อปีจนถึงปัจจุบัน


 

 

 

 

 

 

Back home
Not long after I graduated in 1984, I decided to go home, to travel to my past, meet my friends, cross a brook, cross a mountain, cross the jungle, use the freedom in my life to go somewhere and do something.  Time passed day by day, like harvesting lost things from my education.  I saw the mental changes surrounding people and social life. Many things changed along the road, like electric posts. At the end of the road, I saw freedom in the lives of the people in the mountains who earn just enough - not rich, not poor, not active, not rough - people who were happy living simple lives in nature. I saw the most beautiful moon here.  This was a place that had warm huts, people full of sympathy, pure children eager to study new things; a spiritual place with no competition, no fetters; a place to answer the meaning of life, ego, people, and society.  This vanished my feeling of bitter oppression, and I even felt calm.  My life seemed to be released, and I could wander and feel joy.  I started to draw and paint a series of huts, seeds, Mother Earth, trees on land in the free pattern of Thai tradition, with colors and lines in one dimension to represent the simplicity of plentiful life and nature.   I worked with water color on canvas finished by oil gloss.  This series received medals at the Bauloung competition of Krungthep Bank 2 years in a row, and received a medal at the National Art Competition.
            In 1988, I held my 1st solo exhibition of the Safety Pin-Wreath series at Goethe Institute in Bangkok.
In 1992, I held my 2nd solo exhibition  of the Mother, Seeds, Trees series, at the Artists’ Gallery in Bangkok.
In 2000, I was invited to have my 5th solo exhibition at the National Gallery in Bangkok.  It was an exhibition of paintings of rice seeds representing the result of the collapse of the Thailand financial institutions.  Thailand banks, companies, and stores became insolvent.  People were unemployed and poor.  It reminded me of Thai life and I missed the rice seed that we ate every morning and evening.  Everywhere in the world, Thai people still eat rice, and want to grow rice in the rice fields that have water. Have Thai people, must have rice. During hard times, Rice seed has value more than gold. Thai people realize that rice has worthiness more than any treasure.  This exhibition resulted in my being invited to show abroad for the first time, by the Thai Art Foundation in Amsterdam, Holland, and then later that year in the United States of America, at the Red and Gold Art Gallery in Seattle, Washington. This was organized by Mr. Richard Painter, the owner of the gallery, and all of my expenses including air fare, transportation, and accommodations were covered. 

From my experience of visiting famous art museums and galleries, I gained a better perception of myself and of peoples’ image of Thai culture. I understood that Thai culture lives inside me, and that I am different from people from other countries. Art work that has Thai spirit is important for me to create and appreciate.  My Thai spirit was awakened and I understood that  I am ego, culture, and art work, with fragrant Thai essentials including creation, and pride of Thai spirit, born to love and possessive of everything Thai. Thai temples and the grand palace look like an amazing paradise, and no place else in the world makes me feel so intimately warm or has more splendid art value.

In 2001, I brought my art experience from abroad and opened 9 Art Gallery in Chiangrai. This was to be the center of art in Chiangrai giving the opportunity for local artists to show their work and to be exposed to traditional art; to study the roots of culture and to continue to the next generation; and modern art with the different strengths that come from globalization. I organize art activites (local and national), and international art temporary exhibitions 10 times every year until now.

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจุบัน  ปัจจุบันผมกลับมาอยู่บ้านได้ ๒๗ ปีและเขียนรูปต่อเนื่องมาร่วม ๓๐ ปี  ปัจจุบันที่เชียงราย-กรุงเทพฯไม่ได้ห่างไกลต่อกันเหมือนเช่นอดีต  เช่นกันกับเชียงราย-โตเกียว,  ฮ่องกง,  ปักกิ่ง,  ปารีส,  นิวยอร์ค  หรือเมืองอื่นใดในที่ต่างๆของโลก  ที่ผ่านมาผมทำงานศิลปะไปทำไม?  ผมเขียนรูปไปเพื่ออะไร?  คำถามนี้อาจจะดูโง่  ง่ายๆ  แต่จริงจังเสมอสำหรับผู้ถูกถาม  โดยเฉพาะคำถามนั้นเกิดจากการถามจากตัวเอง  เด็กทุกคนทำงานศิลปะออกไปด้วยความสุข  เติบโตเป็นผู้ใหญ่  ทุกคนต่างสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแสดงตัวตน  เพื่อถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึก  ผมมีความสุข  และพึงพอใจกับการที่ได้ถ่ายทอดอารมณ์,  ความคิด,  ความรู้สึกของตนผ่านไปกับผลงานศิลปะ  และที่สำคัญผมได้สำนึกรู้ว่าศิลปะคือหน้าที่  เป็นหน้าที่ที่ทำให้ชิวิตที่ได้เกิดมามีคุณค่า  เราเกิดมาทำไม?  เรามีชีวิตต่อไปเพื่ออะไร?  ได้รับคำตอบแล้วกับผลงานศิลปะ  ผลงานศิลปะปัจจุบันกับการเป็นมา  ในรากเหง้า,  ช่วงวัยที่ได้รู้ได้เห็น  ในช่วงชีวิตหนี่ง ของข้าพเจ้า  ในชั่วโคตรข้าพเจ้า

 

Now


At present, I’ve come home for 27 years, and painted for 30 years.  Now Chiangrai is

not as far from Bangkok as it was in the past, or any other city in the world such as

Tokyo, Hong Kong, Beijing, Paris, or New York. Why did I work as an artist in the

past?  What did I paint for?  These questions seem to be easy and nonsense, but are

serious questions to ask oneself.  Even children do art work with happiness until they

grow up. Everybody creates art to present themselves, to present their ideas, and to

be appreciated.  I am happy and satisfied that I can present my moods, my ideas, and

my feelings through my art.  I realize that art is my duty and that duty makes our lives full

of value.  Why were we born?  What is our life for?  These questions are answered for

me by my recent work that shows my roots, my childhood, and important times in my life

within my generation.

 

 

 

 


ชั่วโคตรข้าพเจ้า

 ตลอดในช่วงชีวิตวัยของคนๆหนึ่งมีความจริงปรากฏเป็นจริงเฉพาะกับคนๆหนึ่งเท่านั้น  ยุคสมัยหนึ่งมีความเป็นจริงได้เฉพาะกับคนในยุคสมัยหนึ่งเพียงเท่านั้น  แต่ในความจริงของการที่ได้เกิดเป็นคนของทุกคนในทุกยุค,  ทุกสมัย  ไม่แตกต่าง  ทุกคนมีรัก  มีโลภ  มีโกรธ  มีหลง  ทุกคนมีเกิด  มีแก่  มีเจ็บ  มีชรา  ตายจากกันไปเหมือนๆกัน  คนในทุกยุค ทุกสมัย  ทุกพื้นที่บนโลกยังคงเป็นคนอยู่เสมอ  ยังคงบริสุทธิ์  เกิดขึ้นมาใหม่อยู่เสมอ  คุณค่าของคนอยู่ที่การได้ส่งถ่ายประสบการณ์  จากสิ่งที่ได้รับมาจากบรรพชน  และจากความจริงที่ตนประสบตรงกับยุคสมัย  สืบส่งต่อไปให้ลูกหลาน  คนเราทุกคนมีชีวิตอยู่ใน ๓ ช่วงวัย  คือ ๑. เป็นอยู่กับสิ่งที่ได้รับมาจากบรรพชน  จากการเป็นคนที่ได้เกิดมาเป็นลูกหลานของครอบครัว  ๒. เป็นอยู่กับสิ่งที่เป็นไปตามยุคสมัยในประสบการณ์ตรง  เฉพาะของบุคคล  กับการเรียนรู้  เติบโตเป็นผู้ใหญ่มีตัวตน  มีหน้าที่,  ผลงาน  ๓.  เป็นอยู่กับสิ่งที่เป็นปัญญา  เมื่อมากวัย  ได้รู้เห็นสิ่งถูก,  ผิด  สามารถแยกแยะสิ่งดี, เลว  บอกเล่าสิ่งอันควร,  ไม่สมควร  ให้ใครได้รู้  ได้กระทำต่อไป
                คนเราในหนึ่งชีวิตที่ได้เกิดมา  ทุกคนได้เป็นเด็ก  ทุกคนได้เป็นผู้ใหญ่  ทุกคนได้แก่ชรา  ทุกคนได้รับรู้ชีวิต ๓ ช่วงวัย  สืบชั่วโคตร  จากปู่ถึงหลาน  จากหลานเป็นปู่สืบต่อไปถึงหลาน  ความจริงในจุดเล็กๆสามารถบอกเล่าได้ถึงความกว้างใหญ่ของจักรวาล  จักรวาลกว้างใหญ่ก็บอกเล่าการเป็นตัวตนของคนได้มากมาย,  เล็กๆดั่งดวงดาวเป็นอนันต์
                ศิลปกรรมของผมถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ตัวตน  และยุคสมัย  คุณค่าแห่งศิลปกรรมหากจะมีก็มีเพื่อรับใช้ความหมายนี้  เพียงเท่านี

 

 

 

 

My Generation


In each human life there is the truth to be found by the individual.  Each era is the truth for each person, but in reality each era is basically the same.  Everybody has love, avarice, anger, loneliness; everyone has to be born, become ill, get old, and die.  This is the same. People in every era, every age, every area in the world are still human, and always born pure.  The worth of each human is inherited from the experience of their forefathers and from the experience and truth they send to next generation.  Each person has 3 generations: 1. being like the previous generation from being born in a family; 2. being an individual with true experience and knowledge, growing up to be an adult, having duty and work; 3. being older with more time in life, gaining wisdom and being intellectual, knowing truth from falseness, distinguishing between good and bad, and guiding people.
            Everyone lives in 3 generations: child, adult, and elderly.  People in the one life, used to be children, everybody used to be an adult, and everybody touches 3 generations, from grandfather to grandson.  When the grandson becomes the grandfather the circle continues.  The truth in the small point can tell the wideness of the universe.  The infinity of the universe also tells the ego of many humans, like the countless stars.

My art was created by love for service, for myself,  and for this era.  If art has any value, this is the only meaning.

 

 

 

Forward >>



My Generation