Impressionism ในจิตรกรรมของ ชัยวิชิต สิทธิวงค์ |
|
เป็นของใหม่ที่แพร่หลายเข้ามาในไทยเมื่อประมาณ70 -80 ปีที่แล้ว |
เช่นกันกับดนตรีและศิลปะสากลด้านอื่นๆ ที่ความรู้ความเข้าใจของผู้คนในสังคม |
ยังคงงุนงง,ประหลาดใจ และเล่าขานเขียนต่อๆ กันไปในแง่มุมต่าง |
การอ้างผลงานของศิลปินฝรั่งเศสต้นฉบับ Impressionism เมื่อ 100 กว่าปีก่อน |
มาเปรียบเทียบเคียง กับผลงานของศิลปินไทยในปัจจุบันนั้นไม่ถูกต้องนัก |
โดยเฉพาะในเรื่องของเนื้อหาและหลักการนั้นต่างแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง |
ศิลปินเริ่มแรกของลัทธิ Impressionism มีหลักการที่ได้รับอิทธิพลจากการเติบโต |
ของความรู้ในวิทยาการใหม่ๆ ปฏิวัติหลักการ ความเชื่อเก่าในจารีต ขนบนิยม |
ที่คนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนใต้ศรัทธาของศาสนาและศักดินาชนล้างชั้น |
ความคิดปัจเจกชนนิยม แพร่หลายผู้คนต่างเรียกร้องแสวงหาคุณค่าแห่งตน |
Impressionism คืออิสรภาพ |
และความเชื่อใหม่ในศิลปกรรมแสงสีที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ชี้นำ |
์“วัตถุไม่มีสีและดวงตาก็มองไม่เห็นสี หากไม่มีแสงไปกระทบวัตถุ |
ุสะท้อนแสงกลับเข้ามากระทบดวงตา ” |
ศิลปิน Impressionism |
ในยุคเริ่มแรกต่างสร้างสรรค์ผลงานศิลปะออกมาตามความเชื่อนี้ |
ผิดกับศิลปะ mpressionism ในไทยปัจจุบันที่เหลือเห็นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่ง |
ของการสร้างสรรค์ศิลปกรรมที่มีการเรียนการสอนกันในสถานศึกษาศิลปะทั่วไป |
ศิลปะ Impressionism ในไทยไม่ได้ยึดถือ หรือเชื่อในหลักการใด ๆ |
เท่ากับความพึงพอใจในวิธีการที่มีลักษณะเด่นชัดในการทำงานที่สด ฉับไวและ |
ให้ความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว “เชียงรายไออุ่น 5 ฤดูดอกไม้ร่วง |
”คือนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 5 ของชัยวิชิต สิทธิวงค์ ศิลปินที่ยึดมั่นวิธีการนำเสนอ |
ในรูปแบบจิตรกรรม Impressionism ที่น่าสนใจมากคนหนึ่งของไทยต่อจากอาจารย์ |
จรูญ บุญสวน, เอกชัย ลวดสูงเนิน และสองศิลปินเชียงรายรุ่นพี่ เสงี่ยม ยารังสี |
และ อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ที่มีอิทธิพลส่งผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรมของเขา |
ชัยวิชิตชอบเขียนภาพภูมิทัศน์รายรอบหมู่บ้านที่อยู่อาศัย ภาพทุ่งนา กองฟางข้าว |
หลายภาพถูกเขียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าในผลงานชุดแรก ๆ หนองน้ำ เงาสะท้อนของน้ำ |
พัฒนาเขียนต่อกับแม่น้ำและบึงใหญ่ดูสดใสและเป็นเอกลักษณ์น่าสนใจในผลงานชุด |
ต่อมาจนถึงผลงานชุดล่าสุดในปัจจุบันที่เพิ่มมากเทคนิควิธีการเหมือนเขาพยายาม |
วิ่งไล่จับสายลมแสงแดดที่ผลัดเปลี่ยนฤดูกาล หยอกล้อช่อดอกรวงใบไม้เขียว |
ชัยวิชิตกำลังเปิดหน้าต่างสีสันบรรยากาศความประทับใจให้ใคร ๆ ได้เห็น |
ด้วยกลความรักที่มีต่อวิธีการปาดป้ายวาดเขียน Impressionism ฝีแปรงและริ้วรอย |
สร้างเรื่องราวบอกตัวตนกับการเคลื่อนไหว เหมือนการพัดพามาของสายลม |
แล้วรอพัดพาการเป็นไปต่อไปว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไปีในภาพผลงานของเขา |
ชัยวิชิต สิทธิวงค์ เป็นศิลปินท้องถิ่นเชียงรายเติบใหญ่ผ่านเวลาเยาว์วัย |
ในเบ้าหลอมธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของแมกไม้มวลมาลา ฤดูกาล ความซาบซึ้ง |
ที่ติดแนบในวิธีชีวิตธรรมชาติ สะอาดบริสุทธิ์ เรียกร้องขับขานกลับจากธรรมชาติ |
ให้หอบหิ้วอุปกรณ์การวาดเขียนเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ผันเปลี่ยนผลัดคืนวัน |
สีสันฤดูกาล ดอกแล้ว ดอกเล่า ผลิบานร่วงหล่นขับลำนำผืนฟ้าและแผ่นดิน |
ให้สรรพสิ่งได้ตื่นได้หลับ หมุนเวียนต่อไปไม่จบสิ้น ที่นั่น ที่นั่นมีใจรอคอย |
การกลับมาอีกครั้งให้ปาดป้ายวิ่งไล่ ลมหายใจแห่งความประทับใจ |
Impressionism ให้คงอยู่ต่อไป |
|
|